top of page

Active Learning เคล็ดลับพัฒนาเด็กๆในยุคใหม่


คุณครูทุกท่านจะปฎิเสธไม่ได้เลยว่าเด็กๆยุคนี้มีการเปลี่ยนแปลงที่ต่างจากพวกเราเป็นอย่างมาก แน่นอนว่าการที่ให้เด็กนักเรียนนั่งเรียนแต่ในห้องเฉยๆหรืออ่านหนังสือแบบท่องจำ อาจส่งผลให้เด็กๆรู้สึกเบื่อหน่ายกับการเรียนและไม่อยากที่จะเรียนได้นะคะ


 

ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจก่อนว่ากระบวนการเรียนรู้ของคนเรามี2ระดับคือ


ระดับที่1 Passive Learning

เป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการฟัง รับชม ท่องจำที่เด็กๆรับมาจากตัวผู้สอน ซึ่งกระบวนการนี้เด็กนักเรียนจะรับรู้ได้แค่เพียง50%เท่านั้น เช่น การอ่านโจทย์ตามคุณครู การอ่านสไลด์และจดบันทึก


ระดับที่2 Active Learning

กระบวนการนี้เด็กนักเรียนจะได้ลงมือปฎิบัติควบคู่กับการเรียนรู้ไปในตัว โดยผู้สอนสามารถถ่ายทอดความรู้และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันกับเด็กนักเรียนได้ด้วยค่ะ และทำให้เด็กนักเรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตัวเองผ่านการปฎิบัติค่ะ


หมดยุคนั่งท่องจำตำราแบบเก่าๆแล้ว!

ภาพ : https://www.eschoolnews.com

การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning  สามารถสร้างให้เกิดขึ้นได้ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน รวมทั้งสามารถใช้ได้กับนักเรียนทุกระดับ ทั้งการเรียนรู้เป็นรายบุคคล การเรียนรู้แบบกลุ่มเล็ก และการเรียนรู้แบบกลุ่มใหญ่ค่ะ


  McKinney (2008) ได้เสนอตัวอย่างรูปแบบหรือเทคนิค การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แบบ Active Learning ได้ดี ได้แก่


ที่มา : twitter.com

1. การเรียนรู้แบบแลกเปลี่ยนความคิด (Think-Pair-Share) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนคิดเกี่ยวกับประเด็นที่กำหนดแต่ละคน ประมาณ 2-3 นาที (Think) จากนั้นให้แลกเปลี่ยนความคิดกับเพื่อนอีกคน 3-5 นาที (Pair) และนำเสนอความคิดเห็นต่อผู้เรียนทั้งหมด (Share)




2. การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Collaborative learning group) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยจัดเป็นกลุ่มๆ ละ 3-6 คน


ที่มา : https://education.cu-portland.edu/

3. การเรียนรู้แบบทบทวนโดยผู้เรียน (Student-led review sessions) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทบทวนความรู้และพิจารณาข้อสงสัยต่าง ๆ ในการปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ โดยครูจะคอยช่วยเหลือกรณีที่มีปัญหานั่นเองค่ะ


ที่มา : https://www.teachhub.com/

4. การเรียนรู้แบบใช้เกม (Games) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้สอนนำเกมเข้าบูรณาการในการเรียนการสอน ซึ่งใช้ได้ทั้งในขั้นการนำเข้าสู่บทเรียน การสอน การมอบหมายงาน และหรือขั้นการประเมินผลค่ะ


ที่มา : https://newsletter.blogs.wesleyan.edu/

5. การเรียนรู้แบบวิเคราะห์วีดีโอ (Analysis or reactions to videos) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ดูวีดีโอ 5-20 นาที แล้วให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็น หรือสะท้อนความคิดเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดู อาจโดยวิธีการพูดโต้ตอบกัน การเขียน หรือ การร่วมกันสรุปเป็นรายกลุ่มค่ะ


ที่มา : https://www.thoughtco.com/

6. การเรียนรู้แบบโต้วาที (Student debates) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่จัดให้ผู้เรียนได้

นำเสนอข้อมูลที่ได้จากประสบการณ์และการเรียนรู้ เพื่อยืนยันแนวคิดของตนเองหรือกลุ่ม


ที่มา : https://blog.edukasyon.ph/

7. การเรียนรู้แบบผู้เรียนสร้างแบบทดสอบ (Student generated exam questions) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนสร้างแบบทดสอบจากสิ่งที่ได้เรียนรู้มาแล้วค่ะ



8. การเรียนรู้แบบกระบวนการวิจัย (Mini-research proposals or project) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่อิงกระบวนการวิจัย โดยให้ผู้เรียนกำหนดหัวข้อที่ต้องการเรียนรู้ วางแผนการเรียน เรียนรู้ตามแผน สรุปความรู้หรือสร้างผลงาน และสะท้อนความคิดในสิ่งที่ได้เรียนรู้ หรืออาจเรียกว่าการสอนแบบโครงงาน(project-based learning) หรือ การสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน(problem-based learning)ก็ได้ค่ะ



9. การเรียนรู้แบบกรณีศึกษา (Analyze case studies) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้อ่านกรณีตัวอย่างที่ต้องการศึกษา จากนั้นให้ผู้เรียนวิเคราะห์และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือแนวทางแก้ปัญหาภายในกลุ่ม แล้วนำเสนอความคิดเห็นต่อผู้เรียนทั้งหมด


ที่มา: https://www.bobhooperhouse.org/

10. การเรียนรู้แบบการเขียนบันทึก (Keeping journals or logs) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนจดบันทึกเรื่องราวต่างๆ ที่ได้พบเห็น หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน รวมทั้งเสนอความคิดเพิ่มเติมเกี่ยวกับบันทึกที่เขียน ดูๆแล้วเหมือนกันบันทึกไดอารี่เลยนะคะ


ที่มา : https://www.timesnews.net/

11. การเรียนรู้แบบการเขียนจดหมายข่าว (Write and produce a newsletter) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนร่วมกันผลิตจดหมายข่าว อันประกอบด้วย บทความ ข้อมูลสารสนเทศ ข่าวสาร และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แล้วแจกจ่ายไปยังบุคคลอื่นๆค่ะ



12. การเรียนรู้แบบแผนผังความคิด (Concept mapping) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้

ผู้เรียนออกแบบแผนผังความคิด เพื่อนำเสนอความคิดรวบยอด และความเชื่อมโยงกันของกรอบความคิด โดยการใช้เส้นเป็นตัวเชื่อมโยง อาจจัดทำเป็นรายบุคคลหรืองานกลุ่ม แล้วนำเสนอผลงานต่อผู้เรียนอื่นๆ จากนั้นเปิดโอกาสให้ผู้เรียนคนอื่นได้ซักถามและแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมนั่นเองค่ะ


เห็นแล้วใช่ไหมคะว่า การเรียนแบบActive Learning จะช่วยทำให้ผู้เรียนเกิดแรงกระตุ้นในการรับสิ่งใหม่ๆได้อย่างมากค่ะ คุณครูทุกท่านลองสร้างห้องเรียนแบบActive Learning ดูสิคะ รับรองเลยว่าเด็กๆทุกคนต้องชอบอย่างแน่นอน



ที่มา: เอกสารประกอบการฝึกอบรม “คุณภาพผู้เรียน.......เกิดจากกระบวนการเรียนรู้”

       โดย ดร.สถาพร  พฤฑฒิกุล (3 ธันวาคม 2558) คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา

       วิทยาเขตสระแก้ว

610 views0 comments

Comments


bottom of page