PLC หรือ Professional Learning Community เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ BLS Moral School Model ซึ่งบางท่านอาจยังไม่ทราบว่ากระบวนการPLC นั้นคืออะไร โดยบทความนี้จะมาไขข้อกระจ่างให้ทุกท่านเองค่ะ
PLC หรือ Professional Learning Community จะเรียกเป็นภาษาไทยง่ายๆว่า เป็นชมชุมการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ วิธีการระหว่างครูด้วยกันเองเพื่อใช้ในการพัฒนาทักษะของเด็กนักเรียน
สมชิกของกระบวนการPLC
องค์ประกอบของ PLC มีดังนี้
วิสัยทัศน์ร่วม (Share Vision) การเห็นภาพและทิศทางร่าวมกัน เป้าหมายร่วม ภารกิจร่วม คุณค่าร่วม
ความเป็นผู้นำ(Leadership)
การชี้นำ(Leading)
ทำงานเป็นทีมแบบร่วมแรงร่วมใจ (Collaborative Teamwork)
ภาวะผู้นำร่วม (Shared Leadership)
การเรียนรู้และพัฒนาวิชาชีพ Professional Learning and Development
ชุมชนแห่งกัลญาณมิตร Caring Community
โครงสร้างสนับสนุนชุมชน Supportive Structure
สิ่งแวดล้อมเชิงบวก (Positive Environment)
การปฏิบัติส่วนบุคคล (Personal Practice)
ซึ่งกระบวนการนี้จะเน้นไปที่การเรียนรู้ การมีความร่วมมือกันตั้งแต่คุณครูทั้งในและนอกโรงเรียน ผู้บริหารการศึกษา ผู้อำนวยการไปจนถึงบริษัทหรือองค์กรสนับสนุน มุ่งไปถึงการลงมือทำอย่างต่อเนื่องเพื่อการพัฒนาเด็กนักเรียนนั่นเองค่ะ
จะเริ่มต้นกระบวนการ PLC อย่างไร ?
1.กำหนดความต้องการของโรงเรียนและความพร้อมในการเปลี่ยนแปลง อาจช่วยกันเขียนถึงปัญหาและอุปสรรคก็ได้
2.เสนอประเด็นของปัญหาหรืออุปสรรคที่พบเจอจากเด็กนักเรียน
3.หาคนแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ และการปรับเปลี่ยนแนวคิดหรือMind Set
4.ร่วมกันคัดเลือกประเด็นปัญหา
5.ช่วยกันเสนอวิธีแก้ปัญหาจากประสบการณ์
6.หาข้อมูลความรู้เพิ่มเติม เช่น การนิเทศก์,การหางานวิจัย เป็นต้น
7.อภิปรายและสรุปผลเลือกวิธีการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสม
8.นำไปทดลองในชั้นเรียนและการเรียนการสอน
9.คุณครูช่วยกันสังเกตุและเก็บข้อมูล
10.อภิปรายหลังจากที่สังเกตุการและหาวิธีการแก้ไข
11.สรุปผลการแก้ไขปัญหาที่เป็นผลดีต่อการเรียนของเด็กนักเรียน
12.บันทึกทุกขั้นตอนการทำงานกลุ่มคือ ระบุปัญหา วิธีแก้ปัญหา การทดลองใช้และผลที่ได้
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
Output
การเข้าร่วมPLCของบุคลากร
สาระในการทำPLC
Outcome
นักเรียนมีความสุข อยากเรียน
ครูรักเด็ก
เด็กรักครู
Active Learning
พี่ช่วยน้อง เพื่อนช่วยเพื่อน
นักเรียนมีพัฒนาการแบบ Bloom’s Taxonomy
Commentaires