top of page

4 โซนของมนุษย์ที่ทุกคนต้องรู้ เราอยู่โซนไหนกันนะ?





สวัสดีค่ะ วันนี้ #บัวหลวงขอแชร์ จะมานำเรื่องราวความรู้ดีๆเกี่ยวกับ 4โซนของมนุษย์หรือ4Zมาให้ทุกท่านได้อ่านกันค่ะ ก่อนจะไปดูว่าเราอยู่โซนไหนนั้น เรามาทำความเข้าใจแต่ละโซนกันดีกว่าว่ามันมีอะไรบ้าง


 

มาเริ่มโซนแรกที่ Comfort Zone


ที่มาของภาพ : Limitless Touch

Comfort Zone คืออะไร?

Comfort Zoneหรือโซนสบาย เป็นโซนที่ทุกคนอยู่ตั้งแต่แรก ถือได้ว่าเป็นโซนที่เราอยู่แล้วสบายใจและปลอดภัยที่สุด จะไม่มีสิ่งใดมาทำให้เราเจ็บช้ำหรือเหน็ดเหนื่อยได้แต่ว่าข้อเสียของการอยู่โซนนี้นานๆคือ คุณจะกลายเป็นคนที่ไม่มีความสามารถและพัฒนาตนเองไปได้ช้านั่นเอง

การก้าวออกมาจากcomfort zone ทุกคนสามารถออกมาได้ถ้าเปลี่ยนmind set ของตัวเองค่ะ เราต้องมีmind set เป็นแบบgrowth mindsetก่อนจึงจะสามารถก้าวขาออกมาจากโซนสบายนี้ได้

สามารถอ่านเกี่ยวกับmind setเพิ่มเติมได้ที่บทความก่อนหน้านี้ได้เลยค่ะ


เมื่อก้าวออกมาแล้ว เราจะเข้าสู่ช่วงFear Zone


ที่มาของภาพ : myRepublica

Fear Zone หรือโซนความกลัว

การเผชิญหน้ากับสิ่งที่ไม่เคยเจอเพราะตัวเองอยู่แต่comfort zone จึงไม่แปลกที่จะมีความรู้สึกกลัวหรือประหม่า โดยส่วนมากเมื่อคนมาอยู่ในโซนนี้จะกลัวกับเสียงคำวิจารณ์ต่างๆ กลัวความผิดพลาดที่เกิดขึ้น แต่เชื่อเถอะค่ะทุกคนมักมีความผิดพลาดด้วยกันทั้งนั้น แม้แต่คนโด่งดังก็ยังทำเรื่องผิดพลาดมาแล้ว จงอย่ากลัวที่จะทำผิด ถ้าหากเราผิดพลาดเราสามารถแก้ไขตัวเองได้ค่ะ ดังประโยคที่กล่าวไว้ว่า


"จงเรียนรู้จากกความผิดพลาด"

และเราก็จะได้เข้าสู่ช่วง Learning Zone นั่นเอง


ที่มาของภาพ : Blackboard

Learning Zoneหรือโซนแห่งการเรียนรู้ เป็นโซนที่เราจะได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์ ความรู้ การพัฒนาตัวเองให้มากที่สุด เราจะมาอยู่ในโซนนี้ได้ก็ต่อเมื่อเราเอาชนะความกลัวหรือFear Zoneมาแล้วค่ะ


โซนสุดท้ายคือ Growth Zone


ที่มาของภาพ : Unison

Growth Zone หรือ โซนเติบโต ซึ่งเป็นโซนสูงสุดของทั้ง4โซน เมื่อเราได้เรียนรู้สิ่งต่างๆมากมายจนติดตัวเราไปแล้ว เราสามารถนำความรู้/ความสามารถที่มีไปต่อยอดพัฒนาตัวเองและพัฒนาประเทศชาติสังคมต่อไป รวมไปถึงเราสามารถตั้งเป้าหมายของชีวิตใหม่ๆ หาแรงบันดาลใจใหม่ๆได้เพราะเรากล้าที่จะพัฒนาค่ะ


 

เป็นอย่างไรกันบ้างคะสำหรับทั้ง4โซนที่บัวหลวงนำมาให้ทุกท่านได้อ่านกัน แล้วคุณละคะกำลังอยู่ในโซนไหนเอ่ย??


1,239 views0 comments

Commentaires


bottom of page