สวัสดีค่ะผู้อ่านทุกท่าน
วันนี้บัวหลวงขอแชร์ มีบทความดีๆมานำเสนอค่ะ นั่นก็คือเรื่อง “ORID การสนทนาอย่างสร้างสรรค์” บางท่านอาจยังไม่ทราบว่าORIDคืออะไร ย่อมาจากอะไรบ้าง?และมันมีประโยชน์อย่างไร?
ORID เป็นการถามคำถามเพื่อนำให้ผู้ถูกถามเกิดการตัดสินใจ ซึ่งจะแบ่งออกเป็น4ระดับดังนี้ค่ะ
Objective Level (ระดับวัตถุวิสัย)
เป็นการถามเกี่ยวกับความเป็นจริง (Fact) ตั้งคำถามเพื่อปลุกเร้าประสาทการรับรู้ เช่น รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส เพื่อให้ผู้ถูกถามใช้Sense ในการตอบ เช่น เราจะยกสถานการณ์ตัวอย่างเกี่ยวกับเด็กนักเรียนมาโรงเรียนสายกันนะคะ โดยปกติแล้วคุณครูก็จะทำโทษเลยใช่มั้ยคะ? แต่ถ้าเราลองถามเด็กก่อนโดยใช้หลักการ Objective ว่า “รู้ใช่มั้ยคะว่าตอนนี้9โมงแล้วนะ” แล้วเด็กก็จะรับรู้ค่ะว่าเขามาสาย แล้วเรามาดูขั้นตอนต่อไปกันค่ะ
Reflective Level (ระดับสะท้อนความรู้สึก)
การตั้งคำถามเพื่อปลุกเร้าความรู้สึกข้างในทั้ง อารมณ์,ความจำ การเกี่ยวโยง ถามเพื่อให้ผู้ตอบแสดงความรู้สึกออกมาค่ะ เช่น “ที่หนูมาสายทำให้เรียนไม่ทันเพื่อน หนูรู้สึกอย่างไรบ้างคะ?” “หนูรู้สึกอย่างไรบ้างที่มาไม่ทันเข้าแถว” เป็นต้น
Interpretive Level (ระดับการตีความ)
คือการตั้งคำถามที่ให้ผู้ถูกถามมีความรู้สึกนึกคิดถึงค่านิยม นัยสำคัญ ความหมาย จากObjectiveหรือว่าFactที่เคยได้ถามไว้เมื่อตอนแรก การถามแบบนี้เพื่อให้ผู้ถูกถามใช้สมองและความคิดค่ะ เช่น “การที่หนูมาสาย รู้ไหมว่ามันส่งผลกระทบต่อตัวหนูยังไงบ้างคะ?”
Decisional Level (ระดับการตัดสินใจ)
เป็นการตั้งคำถามที่นำทั้ง 3อย่างมาประกอบกันทั้งObjective,Refletive,Interpretive เพื่อค้นหาสิ่งที่จะต้องทำต่อไปในภายภาคหน้าค่ะ เช่น “หนูคิดว่าหนูจะทำอย่างไรไม่ให้มาสาย” “หนูมีวิธีการยังไงเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้อีก”
ลองปรับใช้ดู
นี่เป็นวิธีการถามอย่างสร้างสรรค์เพื่อให้ผู้ตอบได้รู้จักการคิดเองและตัดสินใจด้วยตัวเองค่ะ นอกจากนี้เรายังสามารถใช้วิธีเหล่านี้กับคนรอบๆข้างได้ด้วยนะคะ
ข้อมูลอ้างอิง: https://medium.com/odds-team/retrospective-%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2-orid-e1e79fe1f92f
Comments